เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 60. จิตตสมุฏฐานทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ พิจารณานิพพาน
(เหมือนกับข้อความตอนต้น) บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุและขันธ์ที่ไม่มี
จิตเป็นสมุฏฐานโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วย
ทิพพจักขุ ฯลฯ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ
เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดย
อารัมมณปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
และที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ
พิจารณานิพพาน (เหมือนกับข้อความตอนต้น) บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่ไม่มีจิตเป็น
สมุฏฐานโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดี
เพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น จิตและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วย
ทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณและ
สัมปยุตตขันธ์ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัย
แก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และ
อาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอารัมมณปัจจัย มี 3 วาระ (พึงเพิ่มคําว่า เพราะปรารภ)

อธิปติปัจจัย
[213] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็น
สมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทําขันธ์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ขันธ์ที่มีจิตเป็นสมุฏฐานจึงเกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :119 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 60. จิตตสมุฏฐานทุกะ 7. ปัญหาวาร
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (มี 3 วาระ พึงเพิ่มทั้งอารัมมณาธิปติ
และสหชาตาธิปติ) (3)
สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็น
สมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะ
ออกจากมรรค ฯลฯ พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ บุคคล
ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทํา
ความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น จิตจึงเกิดขึ้น (1)
สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
โดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ และสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ พิจารณานิพพานให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ บุคคลยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่ไม่มีจิตเป็น
สมุฏฐานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
และที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ
ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ฯลฯ บุคคลยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ฯลฯ จิตและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น (3)
สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นปัจจัยแก่
สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ
มี 3 วาระ (มีเฉพาะอารัมมณาธิปติ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :120 }